6 เหลี่ยมสุขภาพ เคล็ดลับดูแลผู้สูงวัย



สุขภาพของเราใน 10 ปีข้างหน้า เป็นผลจากการดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ต้องดูแลตัวเองอย่างถูกหลักโภชนาการ เพราะสุขภาพของเราใน 10 ปีข้างหน้า ก็มาจากผลของการดูแลตัวเองให้ถูกวิธีตั้งแต่วันนี้ คงไม่มีใครอยากจะต้องนั่งรถเข็น หรือโทรมเร็วกว่าวัย ดังนั้นหากเราดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ บางท่านเริ่มตั้งแต่ 40 50 ปีก็มี ก็จะทำให้เราแข็งแรงสมวัย ไม่โทรมกว่าวัยได้ และหากท่านใดอายุเลยเลข 6 แล้ว เริ่มวันนี้ก็ยังไม่สาย เพราะเรายังสามารถแข็งแรงได้อีกนานหากดูแลตัวเองให้ดี


วิทยาการ ความรู้โภชนาการใหม่ๆ ที่จะดูแลสุขภาพผู้สูงวัย ให้มีความสุข

วิทยาการความรู้ทางการแพทย์ใหม่ๆ ทำให้เข้าใจการทำงานของร่างกายมากขึ้น และค้นพบว่า การได้รับพลังงานต่อวัน และโปรตีนต่อวัน อย่างเพียงพอเหมาะสม เป็นสิ่งที่สำคัญมาก


ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุควรได้รับพลังงาน 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน โปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อวัน แต่ในความเป็นจริง พออายุมากขึ้น การรับกลิ่นและรสจะเปลี่ยนไป จนเกิดการเบื่ออาหาร ระบบย่อยอาหาร ระบบเผาผลาญก็ไม่เหมือนเดิม ทำให้กินน้อยลง หลายคนจึงได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ในที่สุดหลายคนอาจจะกินได้เพียง 1,500 กิโลแคลอรี่ โปรตีนก็น้อยกว่าที่ควร จึงเกิด “หนี้ทางพลังงาน” ขาดไป 300 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ทุกวันๆ


ซึ่งในระยะสั้น จะไม่ทันสังเกตุอาหารใดๆ อาจจะแค่น้ำหนักลงทีละนิด แต่ในระยะยาวมักพบว่า จะขาดสารอาหารบางอย่างโดยไม่รู้ตัว ผู้สูงอายุจะทรุดลง มวลกล้ามเนื้อลดลง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และในระยะยาวอาจส่งผลให้สมองทำงานไม่เต็มที่ ผิวพรรณแห้งคัน แผลหายช้าลง เคลื่อนไหวลำบากไม่เหมือนที่เคย และอาจพลาดบางช่วงเวลาที่ดีกับครอบครัวไป


จึงได้เกิดแนวทางการดูแลสุขภาพแนวใหม่ขึ้น คือการดูแลให้ครบทั้ง 6 เหลี่ยมสุขภาพสำคัญ ดูแลให้ได้รับพลังงานต่อวันและโปรตีนต่อวันให้เพียงพอ รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆให้เหมาะสมเพียงพอด้วยเช่นกัน


แนวทางใหม่ เคล็ดลับ 6 เหลี่ยมสุขภาพ ดูแลครบ 6 ด้านใน 1 แก้ว

สารอาหารสำคัญ ในการดูแลด้วยเคล็ดลับ 6 เหลี่ยมสุขภาพ มีอะไรบ้าง




โปรตีนให้เพียงพอเพื่อซ่อมแซมร่างกาย โปรตีนสำคัญกับการซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ และสร้างภูมิคุ้มกัน หากได้รับไม่เพียงพอ อาจทำให้แผลหายช้า ภูมิคุ้มกันลดลง เคล็ดลับการกินโปรตีนที่เหมาะกับผู้สูงวัยคือ การกิน เวย์โปรตีน เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นครบ 8 ชนิด และมีคุณสมบัติย่อยง่าย ดูดซึมง่าย ร่างกายนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คลิ๊กที่นี่ เพื่ออ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแล พลังงานและกล้ามเนื้อ



แคลเซียมคู่กับวิตามินดี เพื่อกระดูกแข็งแรง แม้ประเทศไทยจะมีแดดแรง แต่จากการวิจัยพบว่าคนไทยมักจะเลี่ยงแดดและขาดวิตามินดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสูงวัย การสังเคราะห์วิตามินต่างๆ ของร่างกายก็เสื่อมลง จึงมีโอกาสขาดวิตามินดีมากกว่า เคล็ดลับในการดูแลกระดูกและฟันให้แข็งแรงจึงควรกินอาหารที่มีทั้งแคลเซียมและวิตามินดีสูงไปควบคู่กัน

คลิ๊กที่นี่ เพื่ออ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแล กระดูกและการเคลื่อนไหว



จุลินทรีย์ชนิดดี สร้างสมดุลระบบขับถ่าย ลำไส้เป็นอวัยวะด่านแรกๆ ที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย หากเซลล์ลำไส้อ่อนแอ เชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย มีอาการท้องเสีย ท้องผูก การดูดซึมอาหารอาจด้อยลง การได้รับใยอาหารและจุลินทรีย์สุขภาพซึ่งคือจุลินทรีย์ชนิดดีที่ช่วยกำจัดจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เป็นเคล็ดลับปรับสมดุลในลำไส้ และมีผลงานวิจัยว่าสามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้

คลิ๊กที่นี่ เพื่ออ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแล สมดุลระบบขับถ่าย



วิตามินอี สูง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ เมื่อสูงวัย แม้ได้รับวัคซีนประจำปี แต่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อยลงกว่าเดิม มีผลงานวิจัยพบว่า หากได้รับวิตามินอีในปริมาณสูงกว่า 60 มก.ต่อวันติดต่อกัน 4 เดือน จะช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันและลดการติดเชื้อได้ จึงเป็นหนึ่งในเคล็ดลับดูแลระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญ

คลิ๊กที่นี่ เพื่ออ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน



ไขมันชนิดดี MUFA ช่วยลดไขมันชนิดไม่ดีในเลือด ไขมัน MUFA หรือไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวเป็นอีกหนึ่งไขมันชนิดดี ที่ช่วยลด LDL หรือลดไขมันที่ทำให้เสี่ยงอุดตันในเส้นเลือดได้ ไขมัน MUFA นี้พบได้มากในไขมันพืชที่มีกรดโอเลอิกสูง การกินเสริมจึงเป็นอีกเคล็ดลับในการสู้กับไขมันที่ทำให้อุดตันในเส้นเลือดได้ ร่วมกับการออกกำลังกาย

คลิ๊กที่นี่ เพื่ออ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแล ไขมันชนิดดี



โคลีน, วิตามินบี 12 ส่วนประกอบของระบบประสาทและสมอง เมื่อสูงวัย การทำงานของระบบประสาทและสมองย่อมเสื่อมลงตามธรรมชาติ การดูแลให้ได้สารอาหารที่สำคัญจึงเป็นเคล็ดลับหนึ่ง โคลีนและวิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่มีผลงานวิจัยรองรับว่ามีความสำคัญกับระบบส่งสัญญาณในเซลล์ประสาท จึงควรดูแลให้ได้รับอย่างเพียงพอ

คลิ๊กที่นี่ เพื่ออ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแล ระบบประสาทและสมอง





ข้อมูลอ้างอิง
1. Demling, Robert H. 2009. Nutrition, anabolism, and the wound healing process: an overview. ePlasty 9.
2. Ian Janssen, et al. Skeletal muscle mass and distribution in 468 men and women aged 18–88 yr. Journal of Applied Physiology Jul 2000, 89 (1) 81-88;
3. Chailurkit L, et al. Regional variation and determinants of vitamin D status in sunshine-abundant Thailand. BMC Public Health 2011;11:853.
4. Plummer S, et al. Clostridium difficile pilot study: effects of probiotic supplementation on the incidence of C. difficile diarrhoea. Int Microbiol. 2004; 7: 59-62.
5. Sarker, S., et al. Lactobacillus paracasei strain ST11 has no effect on rotavirus but ameliorates the outcome of nonrotavirus diarrhea in children from Bangladesh. Pediatrics; 2005,116:e221-8.
6. Meydani, S., et al. Vitamin E supplementation and in vivo immune response in healthy elderly subjects. A randomized controlled trial. Journal of the American Medical Association; 1997, 277: 1380-1386.
7. Penny M Kris-Etherton, et al. High–monounsaturated fatty acid diets lower both plasma cholesterol and triacylglycerol concentrations1,2,3
8. Fu AL, et al. Alternative therapy of Alzheimer's disease via supplementation with choline acetyltransferase. Neurosci Lett. 2004 Sep 30;368(3):258-62.
9. http://www.webmd.com/alzheimers/news/20101018/vitamin-b12-linked-to-lower-alzheimers-risk

คือ