พลังงานกับกล้ามเนื้อ

“แข็งแรง” อย่างเดียวไม่พอ ต้อง “มีแรง” ให้พอด้วย

ในการดูแลสุขภาพนั้น คนไทยส่วนใหญ่มักจะมองเพียง “ความแข็งแรง” เช่น ไม่เจ็บไม่ป่วย ยังเดินเหินได้ ยังทำงานไหว หลายคนจึงดูแลด้วยการมองหา “อาหารเสริม” ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เช่น กินแคลเซียมเพื่อกระดูกแข็งแรง กินวิตามินซีเพื่อให้ไม่ป่วย สารสกัดจากเห็ดบ้าง ขิงบ้าง กินผักเพื่อวิตามิน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่ว่าวิตามินและเกลือแร่เหล่านี้จริงๆแล้วทางโภชนาการเรียกว่า “สารอาหารรอง” หรือ “Micronutrients” ซึ่งเป็นเพียงจิ๊กซอว์ 1 ชิ้นของการมีสุขภาพที่ดีเท่านั้น

จริงๆ ยังมี “สารอาหารหลัก” หรือ Macronutrients ที่ให้พลังงานทำให้เรา “มีแรง” นั่นคือ กลุ่มโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันชนิดดี ช่วยให้เราทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจอย่างแท้จริงและละเลยเพราะมักจะคิดว่าเป็นสิ่งธรรมดาที่กินเพียงพอแล้ว ซึ่งหากไม่ดูแลให้ถูกต้องตั้งแต่วันนี้ อาจส่งผลเสียในระยะยาวได้

ความสำคัญของการ “มีแรง” หรือมีพลังงานเพียงพอ ที่ถูกละเลย

ตามหลักโภชนาการแล้ว คนเราต้องได้รับพลังงานและโปรตีนต่อวันให้เพียงพอ แต่พออายุมากขึ้น หลายคนเริ่มรู้สึกว่า กินเยอะแล้วท้องอืด จึงกินน้อยลง หรือกินผักผลไม้เพิ่มขึ้นเพื่อสุขภาพ ซึ่งการคุมอาหารนั้นเป็นเรื่องดี แต่ต้องดูแลอย่าให้ขาดพลังงาน เพราะอาจจะส่งผลเสียได้ เพราะเมื่อร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอ โปรตีนที่กินเข้าไปจะถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน แทนที่จะไปสร้างเป็นโปรตีนและกล้ามเนื้อของร่างกาย ในระยะยาวนอกจากน้ำหนักลดลงแล้วมวลกล้ามเนื้อลดลงด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันตกลง แผลหายช้าลง ความแข็งแรงในการเคลื่อนไหวลดลง สุขภาพโดยรวมอาจจะเสื่อมถอยทีละนิดได้ ลองนึกภาพว่า หากกินอาหารหลักไม่เพียงพอทุกวันๆ จะเกิด “การขาดพลังงานสะสม” และร่างกายค่อยๆถดถอยสะสม จะส่งผลเสีย ทำให้ขาดโปรตีน เพราะโปรตีนถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานหมดไม่ไปสร้างกล้ามเนื้อ ไม่ซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ มวลกล้ามเนื้อลดลง ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาว ซึ่งต่อให้เร่งกิน วิตามิน อาหารเสริมมากแค่ไหน ก็ไม่สามารถทำให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงได้

พูดง่ายๆ ถ้าไม่มีแรง ทำอย่างไรก็ไม่แข็งแรงขึ้นมาได้

ดังนั้นโดยหลักโภชนาการแล้ว เราต้องกินพลังงานและโปรตีนให้ครบเพียงพอก่อน (สารอาหารหลัก) การกินวิตามินเสริมต่างๆ (สารอาหารรอง)จึงจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นมาได้

แล้วเราต้องการพลังงานและโปรตีนเท่าไหร่

ความต้องการพลังงานและโปรตีนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ น้ำหนักและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน รวมถึงมีภาวะโรคต่างๆด้วยหรือไม่ ความต้องการพลังงานและโปรตีนต่อวันของเมื่อสูงวัยในภาวะต่างๆ

ผู้ที่มีสุขภาพดี (กิจกรรมเบา)
- พลังงาน 20-25 กิโลแคลอรี่ /น้ำหนักตัว 1 กก.
- โปรตีน 1.0-1.2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก.

ผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วย  (ควรปรึกษาแพทย์)
- พลังงาน 27-30 กิโลแคลอรี่ /น้ำหนักตัว 1 กก.
- โปรตีน 1.2-1.5  กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก.

ผู้ที่มีภาวะทุโภชนาการ (ควรปรึกษาแพทย์)
- พลังงาน 34-38 กิโลแคลอรี่ /น้ำหนักตัว 1 กก.
- โปรตีน 1.2-1.5  กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก.

ยกตัวอย่างเช่น สูงวัยแล้วหนัก 60 กก. จะต้องการพลังงานประมาณ 1200-1500 กิโลแคลอรี่ และต้องการโปรตีน ประมาณ 60 -72 กรัมต่อวัน (หากอายุยังไม่มาก และออกกำลังกาย หรือทำงานอยู่ อาจจะต้องการ 1,800-2,000 กิโลแคลอรี่) ดังนั้นจึงควรกินมื้อละ 400-500 กิโลแคลอรี่ หากกินข้าวน้อยลง ประมาณ 1/3 ของที่กินได้ปกติ (เทียบเท่า 300-400 กิโลแคลอรี่ โดยประมาณ) จึงขาดไปวันละ 200-300 กิโลแคลอรี่ หากเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องประมาณ 1 เดือน ก็จะเริ่มเห็นว่าผอมลง กล้ามเนื้อเหลว มีอาการเหนื่อยง่าย เพลียง่ายให้เห็น นั่นคือขาด การ”มีแรง” หรือขาดสารอาหารหลัก ความ”แข็งแรง”ในระยะยาวก็จะมีปัญหาได้

เริ่มต้นดูแลตั้งแต่วันนี้

การจะกินอาหารให้ครบถ้วนและเพียงพอ เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในแต่ละวันการจะกินให้หลากหลายจนได้สารอาหารที่ครบและเพียงพอนั้นอาจจะไม่ง่ายนัก หลายท่านอาจจะกินอาหารที่ตัวเองชอบ กินซ้ำๆร้านค้าหน้าปากซอย

ซึ่งการขาดสารอาหารสะสมนั้นในระยะสั้นอาจจะไม่ทันสังเกตเห็นอาการ แต่ในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่นอ่อนเพลีย การเคลื่อนไหวลำบากขึ้น ทั้งที่จริงๆแล้ว หากดูแลแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ก็จะช่วยให้แข็งแรงอย่างที่ในวัยนั้นๆควรจะเป็น ไม่ปล่อยให้ทรุดโทรมกว่าวัย

เคล็ดลับง่ายๆ ด้วยอาหารสูตรครบ 5 หมู่

ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ จึงมี “อาหารสูตรครบถ้วน” ที่แตกต่างจากอาหารเสริมทั่วไปเพราะอาหารเสริมทั่วไปจะเสริมวิตามินบางตัว หรือสารสกัดบางตัวเท่านั้น แต่ “อาหารสูตรครบถ้วน” เป็นการนำเอาอาหารครบ 5 หมู่ ที่ถูกหลักโภชนาการมาทำเป็นรูปแบบผง ชงทานง่าย จึงเป็นวิธีดูแลสุขภาพวิทยาการใหม่ ที่ช่วยเติมสารอาหารให้สมดุล กินเสริมวันละ 1-2 แก้ว เพื่อเติมสารอาหารให้ครบและสมดุลต่อความต้องการในแต่ละวัน

ดื่มง่ายๆใน 1 แก้ว ด้วยอาหารสูตรครบถ้วนโดย Nestle Health Science

ที่เนสท์เล่ เราพัฒนาอาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่ สำหรับเมื่อสูงวัย เป็นแบบผง ชงง่าย รสชาติอร่อย ดูดซึมง่าย มีสูตรเฉพาะหนึ่งเดียวจากเนสท์เล่* ที่มีทั้ง “สารอาหารรอง” หรือวิตามินและเกลือแร่ครบถ้วน 30 ชนิด และมี “สารอาหารหลัก” คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ในสัดส่วนที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ ช่วยให้ “มีแรง” เพียงพอในทุกๆวัน

เนสท์เล่คัดสรรวัตถุดิบชั้นดี เลือกใช้เวย์โปรตีน โปรตีนคุณภาพสูง, แคลเซียมสูง วิตามินดีสูง วิตามินอีสูง เลือกใช้ไขมันชนิดดี, เพิ่มจุลินทรีย์สุขภาพ, มีโคลีน, วิตามินบี 12 และมีวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญรวม 30 ชนิด* จึงถูกหลักโภชนาการ สามารถดื่มเสริมวันละ 1-2 แก้ว ระหว่างอาหารปกติมื้อหลักได้ง่ายๆ ได้รับการยอมรับและใช้จริงจากแพทย์ในโรงพยาบาลชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ให้คุณมั่นใจได้ด้วยสินค้าคุณภาพจากเนสท์เล่

อาหารสูตรครบถ้วน มีทั้งสูตรโปรไบโอติกส์
สูตรน้ำตาลต่ำ และ สูตรเสริมใยอาหาร


image


แอด LINE ลงทะเบียน
รับสินค้าตัวอย่างฟรี

สมัครสมาชิกทาง LINE เพื่อรับสินค้าตัวอย่าง คลิกเลย

image



วิธีการสั่งซื้อ

ซื้อจากร้านขายยาทั่วไป คลิกเพื่อดูรายชื่อร้าน

รายชื่อร้านขายยาที่ขาย


ซื้อกับ 7-11 ง่ายๆ 3 ช่องทาง

1.ซื้อผ่าน All Online ส่งได้ทั่วประเทศ
image
ซื้อผ่าน All Online คลิกเลย

2.สั่งซื้อล่วงหน้า พรีออเดอร์ได้ที่ 7-11 ทุกสาขา หรือ
โทร 1371 และ แจ้งรหัสสินค้ากับพนักงาน
รหัส 20590510 (โปรไบโอติกส์สูตรครบถ้วน)
รหัส 27927602 (น้ำตาลต่ำสูตรครบถ้วน)
ทำการนัดหมายรับสินค้ากับพนักงาน
รับสินค้าภายใน 3-5 วัน

3.ซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11
ส่งฟรี ภายใน 1 วัน กว่า 330 สาขาทั่วประเทศ

image

วิธีการซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11 คลิกเลย


ร้านขายยา ฟาสซิโน

ซุปเปอร์มาร์เกต และร้านขายยา ในห้างฯ เช่น เซ็นทรัล, ท๊อปส์, เดอะมอลล์, บิ๊กซี, โลตัส คลิกเพื่อดูสาขา

image

รายชื่อร้านที่ขาย


สั่ง Online ผ่าน Lazada คลิกที่นี่
image

สั่ง Online ผ่าน Shopee คลิกที่นี่
image

สั่ง Online ผ่าน Shop24 คลิกที่นี่
image

สั่งซื้อทาง LINE
(ส่งถึงบ้านฟรี จ่ายบัตรเครดิตหรือเก็บเงินปลายทางได้)

LINE Nestle Health Science Official คลิก



image

*ขึ้นอยู่กับแต่ละสูตร
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
1. Demling, Robert H. 2009. Nutrition, anabolism, and the wound healing process: an overview. ePlasty 9.
2. Ian Janssen, Steven B. Heymsfield, ZiMian Wang, Robert Ross. Skeletal muscle mass and distribution in 468 men and women aged 18–88 yr. Journal of Applied Physiology Jul 2000, 89 (1) 81-88;
3. Deutz, N E.P., 2014. ESPEN endorsed recommendation Protein intake and exercise for optimal muscule function with aging: Recommendations from the ESPEN Expert Group. Clinical Nutrition 33:929-936 (http://dx.doi.org/10.1016/j.clnu.2014.04.007)
4. รศ.พญ.ปรียานุช แย้มวงษ์. ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ ในหนังสือการจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ โดยสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2557 บรรณาธิการ วีรศักดิ์ เมืองไพศาล โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์ กรุงเทพฯ

คือ