ภาวะกลืนลำบาก ดูแลอย่างไร

ภาวะกลืนลำบากหรือ Dysphagia คืออะไร


คืออาการสำลักเมื่อดื่มน้ำหรืออาหาร มักพบในผู้ที่กล้ามเนื้อที่ใช้กลืนมีปัญหาบีบตัวผิดจังหวะ ทำให้น้ำหรืออาหาร หลงเหลือไม่ได้กลืนลงลำคอ จนเกิดการสำลัก



ภาวะกลืนลำบาก ที่พบได้บ่อย


การกลืนลำบาก พบได้ตามความเสื่อมของร่างกายเมื่อสูงอายุขึ้น และพบมากในผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท โดยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ มีภาวะกลืนลำบากมากที่สุดถึง84% รองลงมาคือ โรคพาร์กินสัน 50-82% และ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก 65%


การกลืนลำบากยังพบได้ในโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับสมองและระบบประสาท เช่น การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง กรดไหลย้อนเรื้อรัง การอักเสบหรือติดเชื้อที่หลอดอาหาร มะเร็งคอ/หลอดอาหาร โรคที่ทำให้ผิวของหลอดอาหารแข็งกระด้าง นอกจากนี้ การเจ็บป่วยเช่นมะเร็ง หรือ ยาประเภทที่ทำให้การผลิตน้ำลายลดลง ส่งผลให้ภาวะกลืนลำบากแย่ลง



หากไม่ดูแล ภาวะกลืนลำบากจะส่งผลกระทบทั้งทางกายและทางใจ


ทางร่างกาย: เพราะไม่อยากสำลัก จึงมักหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำ หรือกินน้อยลง ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ขาดสารอาหาร ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมโรคเดิมที่เป็นอยู่ น้ำหนักลด ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อในปอดและทางเดินหายใจจากการสำลัก


ทางสังคมและจิตใจ: มักมีความกังวลในการกินข้าวร่วมกับผู้อื่น ทำให้ออกห่างจากสังคม กินอาหารคนเดียวนำไปสู่ความเศร้า หดหู่ ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง และมีความอยากอาหารลดลง ยิ่งจะทำให้สุขภาพโดยรวมทรุดโทรมลงไปอีก



การสังเกตอาการ


• การกลืนลำบาก มักจะเริ่มจากการกลืนน้ำไม่ได้ก่อน แล้วค่อยไล่เป็นอาหารเหลว อาหารนิ่ม และของแข็งตามลำดับ
• มีการสำลัก ไอ บ่อยๆเมื่อกลืน อาจมีอาหารหรือน้ำบางส่วนสำลักย้อนออกทางปากหรือจมูกหลังกลืน
• รู้สึกว่ามีอาหารหรือของเหลวติดในคอหรือในช่องอก
• เจ็บคอขณะกลืน
• เจ็บหรืออึดอัดในอกเมื่อกลืนหรือมีอาการแบบกรดไหลย้อน



สารเพิ่มความหนืด (Thickener) ช่วยลดการขาดน้ำ ลดการขาดสารอาหารได้


การสำลักน้ำในภาวะกลืนลำบากเป็นปัญหามากที่สุด เพราะมักพบว่า ผู้ป่วยจะลดการดื่มน้ำลงเพราะไม่อยากสำลัก ร่างกายจึงเสี่ยงต่อการขาดน้ำ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำอยู่แล้ว ทำให้เสี่ยงต่อการมีภาวะไตวาย ท้องผูก ทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ อ่อนแรง ล้มได้ง่าย ส่งผลต่อสมองและความคิด


การใช้สารเพิ่มความหนืด ซึ่งทำจากใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสี แต่จะไปทำให้น้ำ หรือซุป มีความหนืดมากขึ้นเกาะเป็นเนื้อเดียวกันทำให้กลืนลงคอได้หมด ไม่เหลือค้างไว้จึงไม่สำลัก เป็นการแก้ปัญหาการขาดน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยฟื้นฟูการกลืน และที่สำคัญเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน ให้มีความสุข สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้เหมือนปกติ



การผสมสารเพิ่มความหนืด ลงในน้ำดื่ม หรือน้ำซุป


สามารถผสมจนมีความหนืดเพิ่มขึ้นได้ 3 ระดับ ดังนี้


 

แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือ นักกิจกรรมบำบัด สำหรับระดับความหนืดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย



สารเพิ่มความข้นหนืด จาก Nestle Health Science


ที่เนสท์เล่ เราวิจัยและพัฒนาสารเพิ่มความหนืด ที่ละลายง่าย ไม่มีสี ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น จึงผสมกับเครื่องดื่มได้หลากหลาย โดยไม่ทำให้รสชาติของเครื่องดื่มเปลี่ยนไป สามารถใช้ผสมน้ำเปล่า หรือ ซุป ได้ตามต้องการ ปรับความหนืดได้ 3 ระดับ ใช้ดูแลผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก เพื่อฟื้นฟูการกลืน เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ ผลิตจากประเทศเยอรมัน ให้คุณมั่นใจได้ในสินค้าคุณภาพจากเนสท์เล่

 

รีซอร์ส ทิคเค่น อัพ เคลียร์ เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ใช้สำหรับปรับความข้นหนืด ปราศจากสี รสและกลิ่น จึงไม่มีผลต่อสี รสชาติหรือกลิ่นของอาหารหรือของเหลวที่ผสม ใช้ได้ทั้งการชงแบบร้อนและเย็น

รีซอร์ส ทิคเค่น อัพ เคลียร์ ใช้ง่ายเนื่องจากละลายได้เร็ว ไม่จับตัวเป็นก้อน และคงสภาพไม่คืนรูป พร้อมใช้หลังผสมแล้ว


วิธีสั่งซื้อ



สั่งซื้อทาง LINE
(ส่งถึงบ้านฟรี จ่ายบัตรเครดิตหรือเก็บเงินปลายทางได้)

LINE Nestle Health Science Official คลิก



  • ร้านขายยา ฟาสซิโน
      

     



  • สั่งซื้อทางโทรศัพท์

    02-657-8582
    ในวันและเวลาทำการปกติ
    (ส่งถึงบ้านฟรีเมื่อซื้อครบ 1,000 บาท)



  • สนใจซื้อจากร้านขายยา

    รายชื่อร้านขายยาที่ขาย


  • วิธีการรักษาภาวะกลืนลำบาก


    1. ปรับอาหาร เพื่อการฝึกกลืน โดยควรให้มีการประเมินระดับความสามารถการกลืนและเลือกชนิดอาหารที่ให้เหมาะสม ตามเป้าหมายการรักษา
    2. การออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน เช่นการออกกำลังกายกล้ามลิ้น คอ
    3. การกระตุ้นการรับความรู้สึก เพื่อให้เกิดกลไกการกลืน ทั้งทางกายภาพและการใช้ยา
    4. ใช้เทคนิคและอุปกรณ์ช่วยกลืน เพื่อให้กลืนได้อย่างปลอดภัย
    5. การดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อในช่องปาก




    ข้อมูลอ้างอิง:
    1. รศ.พญ.ปิยะภัทร เดชพระธรรม. ปัญหาการกลืนในผู้สูงอายุ .2556 . เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 23(3): 73-80
    2. https://www.strokeassociation.org/STROKEORG/LifeAfterStroke/RegainingIndependence/ CommunicationChallenges/Difficulty-Swallowing-After-Stroke-Dysphagia_UCM_310084_Article.jsp
    3. Julie AY Cichero, Thickening agents used for dysphagia management: effect on bioavailability of water, medication and feelings of satiety. 2013 Nutr J: 12:54